19 กรกฎาคม 2558

PI : เชื่อม internet ให้ Raspberry Pi จาก Notebook

10:30 Posted by attaphon singhakiree , No comments
ในตอนแรกๆ ที่เริ่มเล่น RPi ตอนนั้นยังไม่มีเงินซื้อ Wifi Dongle (เราหมดงบ เราต้องหาวิธีเล่น RPi ให้ประหยัดที่สุด ) จึงหาวิธีต่อ internet เพื่อที่จะลงไฟล์ install file ต่างๆ  ก็คิดไปว่า จริงๆแล้ว โน้ตบุคเราก็เล่น internet จาก wifi ได้  น่าจะเอามาเชื่อมต่อกันผ่านทาง Lan port เอาไปให้ RPi ใช้ต่อได้นี่นา



นี่คือวิธีทำครับ

1) ให้เราต่อ Wifi ปกติ  แล้วเข้าไปที่ Control Panel  แล้วเปิดหน้า Network and Internet > Network Connection  ขึ้นมา


จะเห็นว่า ตอนนี้ Wireless Network Connection 2  ต่อ internet อยู่

2)  คลิกขวาที่ Wireless Network Connection 2 เพื่อเลือก Properties


3) ที่ Properties  เลือก Sharing อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องนี้  ตามรูป


4) จะมีหน้าต่างขึ้นมาบอกว่า  จะเปลี่ยน IP  ของ LAN ของเครื่องคอมพิวเตอร์เราเป็น 192.168.137.1  ซึ่งให้เรากด OK ไป  หน้าที่ต่อไปของเราคือ เสียบสาย Lan เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง RPi กับคอมพิวเตอร์ของเรา


จะเห็นว่า ที่ Wireless Network Connection 2  จะมีคำว่า Sharing เพิ่มขึ้นมา  และหลังจากที่เราเอาสามย LAN ต่อ RPi  ที่ Local Network Connection 2  จะเป็น  Unidentified network

5) ให้เราใช้โปรแกรมพวก IP SCAN  ค้นหา IP ของ RPi  โดยตั้งค่าระหว่าง 192.168.137.1 ถึง 192.168.137.255  เพื่อใช้ในการ Remote เข้าไปจัดการ RPi


Note : http://www.advanced-ip-scanner.com/  ใช้โปรแกรมนี้ก็ได้ ฟรีครับ

ตัวอย่างของผม เคยติดตั้ง Vncserver ไว้ใน RPi  ก็ Remote เข้าไปใช้งานได้เลย  ด้วย IP ที่ Scan ออกมาครับ


วิธีนี้ทำให้เราทั้งทำให้ RPi เล่นอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งเราสามารถ Remote เข้าไป RPi ได้ด้วย  ใครสนใจลองเอาไปใช้นะครับ



PI : อยาก Telnet ไป Raspberry Pi ต้องทำยังไง ?

00:31 Posted by attaphon singhakiree , No comments
ตามเรื่องของหัวข้อบทความนี้เลยครับ ตอนนี้ผมกำลังทำโปรเจ็คตัวหนึ่งที่ต้อง Telnet  เข้าไปที่ Raspberry Pi  เลยศึกษาหาข้อมูลจนทำได้  แล้วก็กลับมาเขียน Log เล่าให้อ่านเช่นเคย

พูดถึงภาพรวม : การที่เราจะใช้คอมพิวเตอร์ของเรา Telnet ไปที่ RPi ได้  ทั้งสองฝั่งต้องติดตั้งโปรแกรม Telnet ในเครื่องเสียก่อน  ในฝั่งคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้เป็น window 7 ก็ต้องเข้าไปเปิด Feature ใช้งาน Telnet ก่อน (ซึ่งโดยปกติ feature นี้ถูกปิดไว้)  ส่วนฝั่ง RPi ก็ install โปรแกรม Telnet  เสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ก็ลอง telnet หากัน

ขอเริ่มที่ตัว RPi เราใช้คำสั่ง install โปรแกรม Telnet ด้วยคำสั่งนี้  *** RPi ต้องต่อ internet นะ

sudo apt-get install telnetd

หลังจากนั้น Restart service  ก่อน 1 ครั้ง  ด้วยคำสั่ง


sudo /etc/init.d/openbsd-inetd restart

เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้นครับ



มาดูฝั่งคอมพิวเตอร์ของเราบ้าง  เราจะเปิด feature Telnet ในเครื่องกัน ตามขั้นตอนนี้

1) ไปที่ Start >> Control Panel


2) ไปที่ Programs >> Turn Windows feature On or Off




3) เลือกที่ Telnet Client และกด OK แล้วรอให้ Window Update Feature ใหม่สักครู่ 



 4) ลองเข้า CMD เพื่อทดสอบ Telnet feature  โดยการพิมพ์  telnet /?


ลอง telnet เข้าไปใน RPi กันเลยครับ ในเคสผม RPi มี IP = 192.168.25.33 ก็พิมพ์ telnet 192.168.25.33 ต่อจากนั้นก็ login ตามปกติครับ


สุดท้ายขอ Reference ข้อมูลไว้เผื่อใครดูรายละเอียดเพิ่มเติมครับ  http://www.ronnutter.com/raspberry-pi-enabling-telnet/

13 พฤษภาคม 2558

PI : Remote เข้า Raspberry Pi ด้วย Tightvncserver

11:23 Posted by attaphon singhakiree , 2 comments
ช่วงนี้กำลังหมกมุ่นอยู่กับของเล่นใหม่ครับ  เนื่องจากกระแสคอมพิวเตอร์จิ๋ว Raspberry Pi มาแรงมาก  ผมเลยไปศึกษาเจ้า Pi ไว้  เผื่อจะเอามาใช้ในงานที่ทำอยู่ได้บ้าง


ถ้าใครเพิ่งเคยเล่น RPi (ขอย่อให้เขียนสั้นๆ จาก Raspberry Pi)  มันเป็นคอมพิวเตอร์จิ๋วราคาถูก แต่ความถูกก็มาพร้อมกับปัญหาคือ มันไม่มีคีบอร์ดและไม่มีจอ  กลายเป็นความยากของผู้เริ่มต้นแบบผมที่ไม่มีตังจะซื้อหน้าจอที่ใช้ต่อ HDMI กับตัว RPi   ผมก็เลยกะว่าจะ Remote จากโน้ตบุคที่ใช้อยู่นี่แหละง่ายดี

เขียนไว้เป็น log เผื่อมีคนเริ่มต้นแล้วเจอปัญหาแบบผมครับ  มาเริ่มกันเลย

วิธี Remote เข้า Raspberry Pi ด้วย Tightvncserver

ปกติแล้ว เราสามารถ remote เข้า RPi ด้วยการ SSH เข้าไปก็ได้  แต่ แบบนั้นมันเป็น command line นี่นา  เราอยากเห็นหน้าจอ desktop จริงๆของ RPi มันน่าจะดีกว่านะ

สิ่งที่เราต้องเตรียม
1) เราต้องรู้ IP ของ RPi ตัวที่จะ Remote
2) RPi ตัวนั้นต้องต่อ internet ได้ เพราะเราจะโหลด tight vncserver  มาลงที่ RPi
3) เราต้องเตรียมลงโปรแกรม VNC viewer เพื่อ remote ดู RPi

------------(1)------------


ขั้นแรก เราเข้า RPi ด้วยวิธีการ SSH ไปก่อน (มันคือการ remote เข้าไปโหมดหน้าจอดำๆ ไว้พิมพ์ command line)  เพื่อไปติดตั้งตัว  Tight VNC Server ใน RPi


ใช้คำสั่ง
sudo apt-get install tightvncserver

เจ้า RPi จะเริ่มโหลดแพคเกจโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ตมา install ใน RPi ของเรา รอมันจนลงโปรแกรมเสร็จครับ  ต่อมาก็เป็นขั้นตอนการ set Password ครั้งแรกเพื่อ login  ตอน Remote เข้า RPi

ใช้คำสั่ง

tightvncserver

โปรแกรมจะให้เรากำหนด Password และให้ verify Password ซ้ำอีกที  ตอนท้ายมันจะถามว่าให้ดูเป็นโหมด Read-only ไหม   ให้เราตอบ โนววว  : n

 ปล. Password ตั้งได้แค่ 8 ตัวอักษร  จำไว้ให้ดีละ

เอาละ เสร็จจากเจ้า RPi เรามาติดตั้งตัว VNC client ในโน้ตบุคของเรากันเป็นลำดับถัดมา  เราสามารถ Download โปรแกรม Ultra VNC Viewer จากที่นี่  เป็นฟรีแวร์ครับ ติดตั้งไม่ยากครับ กด next อย่างเดียว  และเมื่อติดตั้งเสร็จจะได้โปรแกรมหน้าตาแบบนี้


ขั้นตอนนี้เราก็จะใส่ IP ของ RPi ที่จะ Remote ลงไป ต่อท้ายด้วยตัวย่อ :Port ครับ  เช่น เครื่อง RPi ของผม มี IP เป็น 192.168.25.45 ผมก็จะใส่ข้อมูลในช่อง VNC server เป็น 192.168.25.45:1  ซึ่ง :1 ย่อมาจาก พอร์ต 5901 ของ VNC server  (จริงๆ เราเซ็ตค่าความกว้างของหน้าจอที่เรา remote ได้ด้วย ลองไปตามหาอ่านจาก blog คนอื่นๆดูนะครับ)



ใส่ Password ที่ตั้งไว้ครับ



Remote ได้สำเร็จ !!!



แต่เดี๋ยว!! ทุกครั้งที่เรา Shutdown เจ้า RPi ของเรา ตัวโปรแกรม tightvncserver  จะถูกปิดไป เราจึงต้องพิมพ์คำสั่งเริ่มโปรแกรม tightvncserver ใน RPi ใหม่ก่อนทุกครั้งก่อนจะ Remote เข้า RPi ได้    นั่นเป็นความยุ่งยาก  เราจึงจะมาสร้าง script ให้ tightvncserver  มัน start ตัวเองด้วยทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง RPi

ขั้นตอนการสร้าง script (ใช้ command line mode นะครับ  ผ่าน SSH ก็ได้ )

1) สร้าง ไฟล์ script  โดยใช้คำสั่งนี้

คำสั่ง
sudo nano /etc/init.d/tightvncserver

ปล. nano เป็นคำสั่งเปิดไฟล์ text editor จากคำสั่งนี้ก็คือเราจะสร้างไฟล์ชื่อ tightvncserver ในโฟลเดอร์ /etc/init.d 

หลังจากนั้นให้ copy code นี้ไปวางบนไฟล์ script

#!/bin/sh
# /etc/init.d/tightvncserver
# Set the VNCUSER variable to the name of the user to start tightvncserver under
VNCUSER='pi'
case "$1" in
  start)
    su $VNCUSER -c '/usr/bin/tightvncserver :1'
    echo "Starting TightVNC server for $VNCUSER"
    ;;
  stop)
    pkill Xtightvnc
    echo "Tightvncserver stopped"
    ;;
  *)
    echo "Usage: /etc/init.d/tightvncserver {start|stop}"
    exit 1
    ;;
esac
exit 0
จะได้หน้าตาดังรูป




จากนั้นให้เรากด ctrl+X  และกด Y เพื่อ save ไฟล์ครับ

และใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อสั่งให้ script ทำงานเมื่อ boot เจ้า RPi

sudo chmod 755 /etc/init.d/tightvncserver

sudo update-rc.d tightvncserver defaults

เสร็จขั้นตอนนี้  ก็ลอง reboot RPi สักที เพื่อทดสอบ tightvncserver script ว่าใช้งานได้รึเปล่า 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่คนที่เพิ่งเริ่มต้น(แบบผม) นะครับ  ใจจริงคืออยากเขียนบทความไว้กันลืมวิธีการทำด้วย :)  ขอให้สนุกกับการเล่น RPi ครับ

10 สิงหาคม 2557

NEC-CU #10.1 ภาษี กับ SME

21:46 Posted by attaphon singhakiree No comments
เนื้อหาเรื่องภาษี ผมจะสรุปจากสิ่งที่เรียนมาในห้อง NEC 56 ผสมกับการไปหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของภาษีในเวปไซต์ต่างๆ  พยายามเอามาสรุปให้เข้าใจง่ายสุดๆ และเนื่องจากเนื้อหามันค่อนข้างเยอะ จึงจะตัดตอนแบ่งออกเป็นหลายๆ บทความ  จะได้ไม่มึนกันไปก่อน


เรื่องของภาษีกับธุรกิจของเรา  เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ  เพราะถ้าเราส่งภาษีไม่ถูกต้อง สรรพกรผู้น่ารักอาจจะมาปรับเราหนัก  ซึ่งความยุ่งยากของเรื่องภาษี นอกจากจะต้องมาตีความ ภาษาไทยเข้าใจยาก ให้กลายเป็น ภาษาไทยเข้าใจง่ายแล้ว เพราะว่าอ่านคำจำกัดความของภาษีแต่ละข้อ แล้วต่อมาตีความหมายอีก (  เฮ่ออ ...  น้องๆ วิชากฎหมายเลย )  เราต้องดูว่าเราควรจะวางแผนเสียภาษีแบบใหน ให้เหมาะกับขนาดของธุรกิจที่เราทำครับ

เรามาเริ่มต้นจากประเภทของแบบการเสียภาษีดีกว่าครับ  แบ่งออกเป็นสองแบบคือ ภาษีแบบบุคคลธรรมดา  และ ภาษีแบบนิติบุคคล 

แบบบุคคลธรรมดา(ไม่จดทะเบียน)

1) ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่ดำเนินการโดยมีคนๆเดียวเป็นคนจัดการธุรกิจทั้งหมด การดำเนินงานนั้นถ้าทำได้ดีแล้วได้กำไร ก็ได้รับเงินคนเดียวไปเต็มๆ แต่ถ้าดำเนินงานแล้วขาดทุน เขาก็เจ็บไปคนเดียวเหมือนกัน

การดำเนินงานของ "เจ้าของคุณเดียว" ก็จะไม่ซับซ้อน ไม่ต้องงบการเงินส่งให้หน่วงงานต่างๆ ให้ยุ่งยาก เพียงแค่เก็บหลักฐานการทำธุรกิจต่างไว้ให้ดีเผื่อสรรพกรเรียกตรวจตอนยื่นภาษี ธุรกิจเข้าของคนเดียวจะมีความคล่องตัวในการตัดสินใจทำเรื่องต่างๆ แต่ก็มีข้อเสียในแง่มุมมองของสถาบันการเงินเวลาเราไปขอกู้เงินมาทำธุรกิจเพิ่ม ธนาคารไม่ค่อยจะเชื่อถือแล้วก็ปล่อยกู้ยาก กิจการประเภทนี้มีอยู่มาก ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ร้านขายข้าว ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ

2) ห้างหุ้นส่วน (แบบไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล) 
  • ห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มาร่วมกันทำธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน เมื่อธุรกิจนั้นดำเนินงานแล้วได้ "กำไร" ก็จะมาแบ่งกัน แต่ถ้าหาก "ขาดทุน"แล้ว ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทุกคนก็ต้องรับผิดชอบใน หนี้สินที่เกิดทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน

เช่น พี่เสือและพี่หมี ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจร้านขนมปังเมพขิงๆ วันดีคืนดี เกิดไฟไหม้ร้านขึ้นมา ค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่เกิดขึ้นนี้ พี่เสือและพี่หมีต้องร่วมกันชดใช้ทั้งหมด
  • คณะบุคคล : 
คณะบุคคล คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไปขอทะเบียนที่สรรพากร เพื่อขึ้นเป็นหน่วยภาษีขึ้นมาใหม่ แล้วก็กลับมาทำธุรกิจร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์แบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน

ถ้าถามว่า คณะบุคคล กับห้างหุ้นส่วน แตกต่างกันยังไง คำตอบคือ ต่างที่ "วัตถุประสงค์การจัดตั้ง"ครับ คณะบุคคลนั้นจัดตั้งมาโดยไม่แบ่งผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน แต่ในชีวิตจริง ถ้าทำธุรกิจแล้วมีกำไร เขาก็แบ่งกำไรกัน ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลก็ตาม

+++++++++ บุคคลธรรมดา เนื้อหาจบเพียงแค่นี้ครับ +++++++++

แบบนิติบุคคล ( พวกที่ไปจดทะเบียนกับกรมการค้าฯ และกรมสรรพกร)

1) ห้างหุ้นส่วนจำกัด (นิติบุคคล)

รูปแบบการทำธุรกิจนี้ คือเป็น "ห้างหุ้นส่วน" ที่ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 

โดยจะประกอบด้วยคนที่เป็น หุ้นส่วน 2 ประเภท
  • หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ พวกนี้จะมีสิทธิในการบริหารงาน ดำเนินงานในธุรกิจทั้งหมด แต่เวลาธุรกิจมีปัญหา หุ้นส่วนพวกนี้จะรับเต็มๆ เจ็บหนัก เพราะรับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด เรียกได้ว่าเต็มที่กับชีวิต
  • หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ พวกนี้จะไม่มีสิทธิเข้าไปบริการการดำเนินงาน แต่มีข้อดีคือมีความปลอดภัยในเวลาธุรกิจมีปัญหา หุ้นส่วนประเภทนี้จะชดใช้หนี้สินเพียงแค่เท่าทุนที่ลงไปห้างหุ้นส่วน จะมาเก็บเงินเพิ่มจากพวกเขาอีกไม่ได้

2) บริษัทมหาชน (นิติบุคคล)


คือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ตกลงปลงใจเข้าร่วมทุนโดยกำหนดทุนออกเป็นหุ้น รวมถึงกำหนดมูลค่าหุ้นไว้ชัดเจนด้วย ในส่วนของเรื่องชื่อจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำว่า "จำกัด" ต่อท้ายชื่อ 

เช่น บริษัทคุณหมีนำโชคจำกัด ในส่วนของการรับผิดชอบของผู้ถือหุ้น จะรับผิดชอบเท่ากับมูลค่าหุ้นในส่วนที่ชำระไปแล้วเท่านั้น เช่น คุณแมวเหมียวลงทุนเป็นหุ้นในบริษัทคุณหมีนำโชคเป็นเงิน 1 แสนบาท เกิดบริษัทเจ๊งขึ้นมาต้องชำระหนี้สิน 10 ล้านบาท คุณแมวเหมียวก็รับผิดชอบแค่มูลค่าหุ้นคือ 1 แสนบาทเท่านั้น

ข้อดีของบริษัทคือการระดมทุนได้ง่าย ธนาคารจะปล่อยกู้ง่ายกว่าเพราะการเป็น"บริษัท" นั้นดูน่าเชื่อถือ แต่ความยากของการจดเป็นบริษัทก็มี เช่น ทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนจะมากกว่าแบบอื่นๆ ขั้นตอนในการจดมีความยุ่งจากกว่าจดแบบอื่นๆ

3) กิจการร่วมค้า : Joint Venture


"กิจการร่วมค้า" เกิดจากการรวมตัวของหน่วยธุรกิจ 2 หน่วยขึ้นไป แต่ในการรวมตัวกันนั้นมีข้อแม้ว่า จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายเป็นนิติบุคคล(หรือจะเป็นทั้งสองฝ่ายก็ได้) ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินกิจการ ทุกหน่วยธุรกิจ จะต้องแชร์ทรัพย์กรของตัวเอง เช่น มาส่งคนมาลงแรงทำงาน รึอาจลงเงินทุน หรือไม่ก็ลงเทคโนโลยีของบริษัทตัวเอง มาร่วมกันทำกิจการ

กิจการร่วมค้าทั้งสองหน่วยธุรกิจที่รวมกันนี้จะเดินจูงมือกันไปจดเป็นหน่วยภาษีใหม่ขึ้นมาเพื่อเสียภาษี เวลาไปทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกก็ต้องขึ้นต้นสัญญาว่า "กิจการร่วมค้า" ส่วนเรื่องของขอบเขตการรับผิดชอบ กรณีที่เกิดปัญหาระหว่างการดำเนินงาน ทั้งสองหน่วยธุรกิจจะต้องรับผิดร่วมกัน ซึ่งพอจบงาน ทั้งสองฝ่ายก็แยกกันไป

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเสือไทยการก่อสร้างจำกัด ร่วมกับ บริษัทคุณหมีคอนสตรักชัน เข้าทำสัญญา"กิจการร่วมค้า" รับโปรเจ็คทำถนนจากกรมทางหลวง มูลค่า 1400 ล้านบาท กำหนดเวลา 4 ปีแล้วเสร็จ หากเกิดทำงานไม่แล้วเสร็จภายใน 4 ปี ทั้งสองบริษัทต้องร่วมรับผิดชอบค่าเสียหายในการดำเนินงานล่าช้า แต่พอจบงาน ทั้งสองบริษัทก็แบ่งกำไรกันที่เกิดขั้นจากการดำเนินงานรวม แล้วก็แยกย้ายจากกันไป

กิจการร่วมค้า จะเป็นหน่วยภาษีใหม่ แยกจากของแต่บริษัทเดิม ทำให้มีข้อดีคือ ได้รับการยกเว้นภาษีจากเงินปันผลจากการดำเนินงานของกิจการร่วมค้า ( คือไม่เอากำไรมาเสียภาษีรอบสองในบริษัทหลัก ) และถ้าโครงการที่ทำร่วมกันนั้นขาดทุน ก็ไม่ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ข้อเสียก็คือ ผลจากการขาดทุนของโครงการในกิจการร่วมค้า จะไปขอหักเป็นค่าใช้จ่ายในการยื่นแบบ ภ.ง.ด 50 ของโครงการอื่นๆของบริษัทเดิมไม่ได้

4) กิจการค้าร่วม : Consortium


"กิจการค้าร่วม" (สลับกันนิดหน่อยกับ Joint venture) ก็เกิดจากการรวมตัวของหน่วยธุรกิจ 2 หน่วยขึ้นไป มาร่วมทำกิจการด้วยกัน โดยในสัญญาจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายอย่าง"ชัดเจน" แบ่งค่าตอบแทนของแต่ละฝ่ายอย่าง"ชัดเจน" พอในการดำเนินงานแต่ละคนก็จะใช้ความชำนาญความสามารถของตนเพื่อให้โครงการที่ร่วมกันทำสำเร็จลุล่วง และไม่มีการจดหน่วยภาษีใหม่ร่วมกันเหมือนแบบ joint venture ทำให้การเสียภาษีก็แยกของใครของมัน กำไร/ขาดทุนก็เป็นของใครของมัน

ตัวอย่างของ consortium เช่น บริษัทเสือใหญ่คอมพิวเตอร์ ร่วมกับ บริษัทคุณหมีเน็ตเวิร์ค ร่วมกันทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ในการขายและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในชื่อ " กิจการค้าร่วมเสือใหญ่คุณหมี " ในตอนดำเนินงาน บริษัทเสือใหญ่ก็รับผิดชอบขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วน บริษัทคุณหมีก็รับผิดชอบทำหน้าที่ติดตั้งระบบไป แต่ปรากฏว่าเกิดความเสียหายจากการติดตั้งระบบที่ไม่ได้เกิดจากตัวอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ดังนั้นทางบริษัทคุณหมีต้องเป็นคนรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

ด้วยเหตุนี้ consortium จึงเหมือนการที่สองบริษัทจูงมือมาทำโครงการ แต่แบ่งแยกหน้าที่กันชัดเจน ถ้างานใครมีปัญหา คนนั้นก็เป็นคนรับผิดชอบในปัญหานั้นเอง จะกำไรหรือขาดทุนก็เป็นเรื่องของแต่ละคน การเสียภาษีก็แยกของใครของมัน ไม่มีการรวมกำไร/ขาดทุนของสมาชิกใน consortium นั้นๆ

ถ้าถามว่า เราควรเลือกรูปแบบธุรกิจอันใหนดี ก็ต้องมาชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ การเลือกที่จะเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดานั้นมีข้อดีตรงไม่ต้องจัดการเรื่องการทำงบบัญชีการเงินให้ละเอียดมากนัก เพียงแต่เก็บหลักฐานเพื่อยื่นภาษีให้ครบถ้วนก็เพียงพอ แต่หากยิ่งมีรายรับเยอะขึ้นๆจะทำให้ต้องเสียภาษีตามลำดับขึ้นสูงขึ้น

ส่วนพวกนิติบุคคล จะยุ่งยากตรงที่ต้องทำเอกสารค่อยข้างยุ่งยาก ต้องทำงบการเงิน ส่งให้กรมการค้าและกรมสรรพากร แต่ข้อดีคือ เงินเสียภาษีนั้นคิดมาจากกำไร คือรายรับจะถูกหักต้นทุนค่าใช้จ่ายก่อนที่จะมาคำนวณภาษี และถ้ากำไรมากๆ อัตราการเสียภาษีจะน้อยกว่าแบบบุคคลธรรมดา

สรุปข้อดีข้อเสียเป็นตารางให้ดูง่ายๆกันดีกว่า  แต่ข้อมูลมีไม่ครอบคลุมถึงประเภท Joint Venture และ Consortium  นะ (ตารางสรุป เป็นข้อมูลจากเพจ TaxBugnoms เพจเกี่ยวกับเรื่องของภาษี นี่อ่านง่าย น่าสนใจ ลองเข้าไปดูกันนะครับ )


ถ้าผู้อ่านพอจะเข้าใจการแบ่งประเภทของผู้เสียภาษีกันแล้ว  น่าจะมองเห็นแล้วว่า ตัวธุรกิจที่เราทำ ควรจะใช้การเสียภาษีแบบใหน  นี่เป็นหัวใจหลักของบทความนี้ที่จะสื่อครับ

รออ่านบทความเรื่องภาษีกับ SMEs ในบทต่อไปนะครับ  

22 มิถุนายน 2557

Jeff Bezos กับอานาจักร Amazon (2)

06:18 Posted by attaphon singhakiree No comments
#กลยุทธของ everything store (Amazon)

ขอบคุณภาพจาก machable.com
หลังจากเราได้รู้เบื้องหลังของ Jeff  Bezos ผู้เป็น CEO ของ Amazon.com กันมาแล้ว  คราวนี้ เรามาดูกลยุทธที่ Jeff Bezos ใช้ในการปั้น Amazon.com ให้เป็น e-commerce ที่แข็งแกร่งระดับโลกกันบ้างครับ

มองหาสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง

โดยทั่วไปแล้ว  เราพยายามมองหาสิ่งใหม่ๆเพื่อเอาเข้ามาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงธุรกิจเรา เราจะพยายามมองว่า ในอนาคตจะเกิดสิ่งใดขึ้นบ้าง แล้วสิ่งนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของเราหรือไม่  เช่นสมมุติเราเปิดร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ เราต้องมองและติดตามตลอดว่า อนาคต จะมี Application หรือ Social media อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก แล้วมันพอที่จะเป็นช่องทางสื่อสารกับลูกค้าในอนาคตเราได้รึเปล่า เอามาประยุกต์ใช้ได้ใหม  นั่นคือเราต้องคอยตามเทคโนโลยีตลอด

แต่ Bezos ให้ความสำคัญกับการมองหาสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากกว่า    เขาจะพยายามมองหาว่า  ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ 5 - 10 ปีข้างหน้า สิ่งใดในธุรกิจจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง  ได้แก่ ...

1) ระบบ Store และ Logistic  : เพื่อความรวดเร็วในการส่งสินค้า Bezos จะลงทุนทรัพยากรเอามาพัฒนาให้กับเรื่องที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้เป็นจุดแข็งในระยะยาว ได้แก่เรื่อง Warehouse สถานที่จัดเก็บสินค้าอย่างเป็นระบบและสามารถค้นหาสินค้าที่จะส่งได้ง่าย  รวมไปถึงระบบ  Logistic การส่งสินค้า  จน Amazon ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า ว่าส่งสินค้าได้รวดเร็ว

2) Kindle ( อุปกรณ์อ่าน ebook ) : เมื่อต้นปี 2009 เราได้เห็น Jeff Bezos เปิดตัว Kindle อุปกรณ์อ่าน ebook ที่สามารถอยู่ได้นานเป็นเดือนโดยไม่ต้องชาร์ตไฟทุกวัน อุปกรณ์ตัวนี้กินไฟน้อยเพราะหน้าจอแบบ e-ink ที่กินไฟน้อยมากๆ และต่อมา Jeff Bezos ก็ได้เปิดตัวมือถือและแทปเล็ตรุ่นใหม่ๆ ที่พัฒนามาเพื่อความสะดวกในการอ่าน ebook จาก Amazon

การพัฒนาในเรื่อง ebook นอกจากจะพัฒนาด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแล้ว Amazon ยังพัฒนา ebook format ให้เป็น format ของตัวเอง (file.azw และ file.kf8) เพื่อป้องกันไฟล์หนังสือ ebook ไม่ให้โดน copy ไปอ่านในตัวอุปกรณ์อื่น ที่ไม่ได้รันด้วย Kindle App ของ Amazon พูดง่ายๆว่า เรา copy ไฟล์หนังสือไปแจกจ่ายให้เพื่อนๆอ่านไม่ได้ครับ

เชื่อว่าที่ Amazon ก้าวเข้ามาทำอุปกรณ์อ่าน ebook ให้ดีขี้นเรื่อยๆ ก็เพื่อจะครองเป็นเจ้าของตลาดด้านนี้นั้นเอง(ซึ่งตอนนี้ก็เป็นอยู่) เพราะในอนาคต คนเราน่าจะอ่านหนังสือจริงๆกันน้อยลง และหันมาอ่านหนังสือรวมถึงข่าวบนอุปกรณ์ Smartphone กันมากขึ้น

3) Amazon Drone : เรื่องนี้เพิ่งมีข่าวว่าทาง Amazon ประกาศว่าจะลงมาทำอย่างจริงจัง ซึ่ง Jeff  Bezos ได้กล่าวถึงโปรเจ็ค "Amazon Prime Air" ที่ใช้ Drone เฮริคอปเตอร์ไร้คนขับขนาดเล็กที่สามารถควบคุมได้ระยะไกล เอามาในการส่งของ ซึ่ง Drone ของ Amazon จะใช้ระบบ GPS ในการนำทาง แล้วบินไปยังพิกัดที่เป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งมันสามารถบินไปได้ไกลถึง 16 กิโลเมตรและส่งของน้ำหนักได้ไม่เกิน 5 ปอนด์ ได้ในเวลา 30 นาที

Amazon กล่าวว่า ปกติของที่ส่งให้ลูกค้านั้น 86% จะน้ำหนักไม่เกิน 5 ปอนด์ ต้องใช้ FedEx และ UPS ในการส่งเป็นหลัก ถ้าโครงการ "Amazon Prime Air" สามารถส่งของได้ดีในอนาคต จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้มาก

เห็นตัวอย่างในการมองหาสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงรึยังครับ ?


Information perfection ช่วยลูกค้าตัดสินใจซื้อของ

สมมุติว่าเราจะเลือกซื้อจักรยานสักคัน โดยความรู้เกี่ยวกับจักรยานเริ่มจาก 0 เลย  เราจะทำอย่างไรบ้างครับ ?  เราอาจจะไปหาข้อมูลจักรยานในกูเกิลก่อนว่า มันมีประเภทอะไรบ้าง พอได้ข้อมูลประเภทที่ต้องการ ก็ลองไปถามเพื่อนว่า ขับเสือหมอบ  รุ่นใหนดี เพื่อนก็จะให้ comment คำแนะนำเราในแต่ละรุ่นๆ  แต่ถ้าเราจะไปถามเจ้าของร้านจักรยาน เพื่อให้เขาช่วยแนะนำให้ บางทีฝั่งผู้ขายอาจจะอยากขายรุ่นนี้ให้ได้  สิ่งที่แนะนำมาอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของเราซะทีเดียว

Jeff  Bezos เชื่อว่าในอนาคต รอบๆตัวเราจะมีสภาวะที่มีข้อมูลมากมาย  เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้อง สภาวะที่ว่านี้คือ "information perfection"

เคยได้ยินคำว่า ลูกค้ามักฟังลูกค้ากันเองไหมครับ ?  Jeff  Bezos มองเห็นเรื่องนี้  เขารู้ว่า การจะทำให้เวปขายสินค้าออนไลน์ให้เป็นสภาวะ "information perfection" ได้นั้น ฝั่งผู้ขายต้องยอมมาอยู่ฝากเดียวกับลูกค้า  ทำตัวคล้ายๆกับเพื่อนที่คอยให้ข้อมูลแนะนำสินค้าอย่างตรงไปตรงมา  Jeff  Bezos จึงใช้กลยุทธนี้กับการขายหนังสือใน Amazon.com โดยเปิดให้ลูกค้ามารีวิวหนังสือแบบตรงๆไม่อ้อมค้อมว่า หนังสือเล่มนี้ดีหรือไม่ดี  ซึ่งการทำแบบนี้ย่อยส่งผลกระทบต่อยอดขายหนังสือที่มีความเห็นแย่ๆ และทำให้ขายหนังสือบางเล่มไม่ได้  ซึ่งสำนักพิมพ์ของหนังสือหลายเล่มก็ไม่เข้าใจว่า Amazon ทำแบบนี้จะได้อะไร

แม้จะเกิดผลเสียต่อยอดขายในช่วงแรกๆ  แต่หลังจากใช้กลยุทธนี้  ความพึงพอใจของลูกค้า ที่วัดโดย american customer satisfaction index ได้ประกาศว่า ความพึงพอใจของลูกค้าของ Amazon.com ได้ถึง 88 คะแนน ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้มากขนาดนี้


Jeff  Bezos ได้ฝากข้อคิดไว้ว่า " we don't make money by sell  things , we make money when we help customer make purchase decisions"

Customer focus

วัฒนธรรมองค์กรของ amazon จะให้พนักงานทุกคน ได้ลงไปทำงานในส่วนของการฝึกรับลูกค้าหน้าร้าน ไม่ว่าจะตำแหน่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องลงมาทำ เพื่อที่จะปลูกฝังในเรื่องรักการบริการลูกค้าให้กับพนักงานทุกคน

Competitor is customer  เอาคู่แข่งมาเป็นลูกค้า

Jeff Bezos สร้างฐานลูกค้าใหม่ขึ้นมา ที่ทำให้ทุกคนงงๆ ว่าทำแบบนี้จะได้เปรียบได้ไง  นั่นคือเปิดให้ คนที่ต้องการจะขายสินค้าแบบเดียวกับ Amazon  ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่ง เข้ามาเปิดขายสินค้าแบบเดียวกันใน amazon ได้  เรียกได้ว่าเปิดช่องทางให้คนมาแย่งเค้กส่วนของยอดขายในการขายสินค้าชนิดเดียวกันในบ้านตัวเอง !

Jeff Bezos อธิบายว่า ที่เขาทำอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะบอกลูกทีมว่า ทีมยังทำการบ้านยังไม่ดีพอ  ที่จะพยายามหาสินค้าชนิดเดียวกันมาวางขายในราคาต่ำกว่าคู่แข่ง  ซึ่งถ้าในที่สุด  Amazon หาของที่ราคาต่ำว่าคู่แข่งไม่ได้ Amazon ก็พร้อมที่จะรับซื้อของจากคนที่ขายแข่งเอามาขายเองซะเลย  ซึ่งคนขายแข่งก็ได้ประโยชน์ เพราะขายของได้  และ Amazon ก็ได้ประโยชน์เพราะได้ขายของที่มีราคาต่ำที่สุดในท้องตลาด ทั้งนี้เนื่องจาก Amazon ต้องการเป็น บริษัทที่บริหารต้นทุนที่เก่งที่สุด ที่ดีที่สุด ไม่น่าที่จะมีผู้ใดหาสินค้าได้มีต้นทุนต่ำว่า Amazon อีกแล้ว

------------------------

เมื่อรู้กลยุทธดีๆ จาก Amazon.com อย่างนี้แล้ว หวังว่าท่านผู้อ่าน น่าจะนำแนวคิดดีๆแบบนี้ไปประยุกใช้กับธุรกิจตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

#ข้อมูลอ้างอิงในการเขียนบทความ
Book : Essentials of managing change
WEBSITE : Bloombergbusinnessweek : The Secrets of Bezos: How Amazon Became the Everything Store

21 มิถุนายน 2557

Jeff Bezos กับอานาจักร Amazon (1)

20:26 Posted by attaphon singhakiree No comments
ปัจจุบันการซื้อของออนไลน์ผ่านเวปต่างๆเริ่มนิยมกันมากขึ้น  อาจจะเป็นเพราะหลายๆคนเริ่มเชื่อมั่นในตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้การซื้อของออนไลน์นั้นปลอดภัยกว่าแต่ครั้งแต่ก่อน พร้อมกับความสะดวกที่ไม่ต้องหิ้วตัวเองเดินทางไปถึงหน้าร้าน แถมว่าเดี๋ยวนี้อยากซื้ออะไรอยากได้อะไร เราสามารถหาซื้อได้เกือบทั้งหมดในอินเตอร์เน็ต และถ้าให้เราลองคิดถึงชื่อเวปชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ยักษ์ใหญ่หลายๆเจ้า หนึ่งในรายชื่อนั้นต้องมี ชื่อของ Amazon.com แน่นอน

ผมก็เป็นหนึ่งในลูกค้าของ Amazon,com เพราะหลงกลเข้าไปซื้อหนังสือ Ebook จากเวปนี้อยู่บ่อยๆ Amazon.com ทำให้ผมรู้สึกว่า การซื้อของออนไลน์นี่มันง่ายจนตกใจว่าแบบ งงๆ ว่า เฮ้ย นี่เรากดซื้อไปแล้วเหรอ (One - click)  ประกอบกับว่าผมได้่อ่านหนังสือดีๆ เล่มหนึ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับธุรกิจขายรองเท้าออนไลน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอเมริกา Zappos.com ซึ่งบริษัทนี้มีจุดแข็งในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร เรื่องราวของ Zappos น่าสนใจมาก แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือ การที่ Zappos ได้ถูก Amazon ควบรวมกิจการ นั่นยิ่งทำให้ความอยากรู้เรื่องราวของ Amazon มากขึ้น

และที่สำคัญ เคยได้ยินมาหลายครั้งแล้วว่า CEO คนนี้ของ Amazon นี่เก่งมากในเรื่องของ Bussiness Model Innovation มีคนเทียบความเก่งนี่ บอกว่าพอๆกับ Steve Jobs ของ Apple บริษัทที่เด่นในเรื่อง Product Innovation ( Apple เด่นเรื่อง Product เมื่อตอน Jobs ยังอยู่บนโลกใบนี้นะ ) เลยพยายามไปขุดประวัติและแผนการทำธุรกิจของ CEO คนนี้มาให้อ่าน

เรามารู้จัก Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com กันครับ

28 มีนาคม 2557

NEC-CU #9.5 Business model canvas

12:43 Posted by attaphon singhakiree No comments
ในตอนที่ 4 เราได้รู้ส่วนประกอบของ CANVAS ทั้ง 9 ส่วนกันไปแล้ว เอาละ … ตอนที่ 5 นี้เป็นตอนสุดท้ายแล้วครับ จะเป็นข้อแนะนำในการเขียน CANVAS เพิ่มเติม เราจะกลับมาพูดถึงสิ่งที่ MIKE พลาดไป 5 ข้อ นี่คืออีก 3 ข้อหลังที่เหลือครับ
canvas
3) เลือกทางเลือกที่เป็นไปได้
Take time to think through alternative possibilities.
ถ้าเราพูดถึงเรื่องการแก้ปัญหา จะมีแนวคิดที่น่าสนใจหนึ่งที่เรียกกันว่า Reframing มันคือการที่เราหาวิธีปัญหาเดียวๆกัน คิดให้ออกมาเป็นวิธีแก้ไขปัญหาหลากหลายวิธี   โดยไม่ต้องสนใจกรอบข้อจำกัดที่ครอบปัญหานั้นอยู่  ซึ่งเมื่อเราหลุดจากกรอบข้อจำกัดหนึ่งๆ เราจะมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาอีกหลายๆวิธีที่เรามองไม่เห็นก็เป็นไปได้
ในการวางแผน Business model ก็มีเรื่องของ Reframing เช่นกันครับ มันเป็นการเปลี่ยนแปลง Process บางส่วนของธุรกิจที่เคยทำอยู่แบบเดิมๆ  ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการทำธุรกิจแบบเดียวกันสามารถแตกต่างกันออกไป  แต่สุดท้าย….เราก็ต้องการกำไรจากการขายสินค้าและบริการนั้น ( คล้ายๆ เราขับรถไปทะเล  ปกติเราไปเส้นทาง A  แต่วันนี้เราอาจจะใช้เส้นทาง A หรือ B หรือ C ก็ได้ เราอาจเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดหรือเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยวให้แวะระหว่างทาง  แต่สุดท้ายก็ต้องการไปให้ถึงทะเล)

27 มีนาคม 2557

NEC-CU #9.4 Business model canvas

09:08 Posted by attaphon singhakiree No comments
หายหัวไปหลายเดือน เพิ่งจะมีโอกาสกลับมาเขียนข้อมูลต่อ บทความเค็มกำลังดีเพราะดองไว้นานครับ  :D
BOOK
หลังจากที่เราได้รู้จักส่วนประกอบของ CANVAS ไปแล้ว 5 ส่วน (จากบทความก่อนๆ) ได้แก่ Customer Segment (SC) , Value Proposition (VP) , Channel (CN) , Customer relationship (CR) , Revenue stream (RS) ซึ่งที่กล่าวมานี้ เป็นเสมือนเราวิเคราะห์ส่วนของหน้าร้าน ที่ต้องเจอกับลูกค้าตัวเป็น ๆ
ถ้ายกตัวอย่างธุรกิจง่ายๆ มาสักอย่างเพื่ออธิบายให้เห็นภาพ อย่างเช่น การขายกล้วยตาก (CS) ของเราเป็นนักท่องเที่ยวที่อยากซื้อของฝาก (VP) เราคือกล้วยตากชุบช็อกโกแลตที่ทำ package ชิ้คๆ เหมาะสำหรับเป็นของฝาก (CN) เราจะฝากขายตามหน้าสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาเยอะ (CR) ทำถุงใส่กล้วยตากให้มีรายละเอียดของร้านเผื่อกลับมาตามหาซื้ออีกรอบ หรืออาจจะเขียน story ดีๆของกล้วยตากบนกล่อง เผื่อคนกินได้อ่านเพลินๆ ระหว่างเคี้ยว (RS) ขายเป็นกล่องหลายขนาดให้เลือก กล่องเล็กราคาหนึ่งเพื่อคนที่ชอบความซื้อง่าย กล่องใหญ่ก็เพิ่มราคามาอีกระดับหนึ่งเพื่อคนที่ชอบปริมาณและความคุ้มค่า
เล่าของเก่าเสร็จแล้ว กลับมาพูดของใหม่ส่วนที่เหลือครับ ในส่วนของฝากซ้ายมือของ CANVAS เราจะมองเป็นงานหลังบ้าน ที่คอยผลิตของให้ทางหน้าบ้านเอาไว้ขาย ก็ดูจะไม่ผิดครับ ซึ่งส่วนของหลังบ้านจะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน นั้นคือ Key resource (KR) , Key activity (KA) และ Key partner (KP)
ทั้งสามส่วนนี้ เราต้องมาวิเคราะห์ว่า อะไรที่เป็น "KEY" จริงๆ ที่ช่วยไขเปิดประตูธุรกิจของเราให้ประสบความสำเร็จ รายละเอียดของกุญแจหลังบ้าน 3 ดอกนี้ เป็นอย่างไร ลองตามมาดูครับ

20 ธันวาคม 2556

NEC-CU #9.3 Business model canvas

08:02 Posted by attaphon singhakiree No comments
จากบทความตอนที่แล้ว เราได้พูดถึงส่วนประกอบของ CANVAS ไปแล้ว 2 ส่วนคือ Customer segment (ใครที่เป็นลูกค้าของเรา) และ Value proposition (เราส่งมอบอะไรให้ลูกค้า) ในตอนที่สามนี้จะพูดส่วนประกอบที่เหลือกันต่อครับ

ส่วนประกอบที่สาม : Channels

clip_image001
Channel : ช่องทางที่จะส่งสินค้าและบริการจากเราไปหาลูกค้า ซึ่งถ้ามีหลายกลุ่มลูกค้า เราอาจจะแยกช่องทางเหล่านั้นให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มก็ได้

19 ธันวาคม 2556

NEC-CU #9.2 Business model canvas

06:59 Posted by attaphon singhakiree No comments
จากธุรกิจที่ล้มเหลวของ Mike ในบทที่แล้ว (กลับไปอ่านตอนที่1) เรามาดูข้อผิดพลาดของ Mike ข้อที่ 2 กันต่อ ซึ่งข้อนี้ก็สำคัญมากๆด้วย
2) คิดวิธีหาเงินจากธุรกิจไม่ได้
(It’s the business model , stupid .)


ของมันดี แต่ไม่มีตังมาเลี้ยงตัวเอง สุดท้ายก็ตาย…

จริงอยู่ที่ Mike ได้เขียน Bussiness plan มาเป็นอย่างดี แต่นั้น มันเป็นแผนในการตั้งบริษัท แต่ไม่ได้รวมถึง business model ที่จะหาเงินจากธุรกิจนี้ด้วยรึเปล่า ? ธุรกิจดีๆหลายตัวแต่ไม่มีรายได้ มันไปต่อไม่ได้เพราะไม่มีเงินมาเติมวงจรชีวิต

ผมอยากยกตัวอย่างธุรกิจดีๆที่เห็นกันอยู่ เจ้าผลิตภันท์นี้ในตอนแรกไม่มี model ว่าจะคิดหาเงินเข้ามาเติมวงจรชีวิตได้ยังไง  พวกเราน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้วครับ…