02 เมษายน 2556

NEC-CU #5 การบัญชีเบื้องต้น

11:20 Posted by attaphon singhakiree 1 comment
วันนี้เป็นเรื่องที่น่าเรียนที่สุดในบทเรียนผู้ประกอบการใหม่ เพราะวันนี้เราจะเรียนวิชาบัญชีกัน  สาเหตหนึ่งที่สนใจเพราะว่าอยากอ่านงบการเงินให้เข้าใจ ผมจะขอเล่าเข้าเรื่องเลยแล้วกัน

การทำธุรกิจ แน่นอน...เป้าหมายนั้นย่อมต้องการกำไรจากธุระกิจที่ทำ  วิธีการคำนวนหากำไรก็คิดจากสูตรง่ายๆ นั่นคือ
กำไร = รายได้ - รายจ่าย
ผมมีเพื่อนรุ่นเดียวกันในห้องเรียนผู้ประกอบการใหม่เล่าปัญหาให้ฟังว่า ที่บ้านทำร้านขายของชำ ซึ่งปกติก็เป็นแบบซื้อมาขายไป ในทุกวันที่ขายของจะเห็นว่ามี cash flow เข้ามาอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาคือ เขาไม่รู้ว่า ที่ทำร้านขายของนี่เขาได้กำไรหรือขาดทุนไปเท่าไรในแต่ละเดือน

ถ้าเราขายไปวันๆ โดยไม่มีการจดรายรับรายจ่าย เราอาจไม่รู้จริงๆว่าแต่ละวันเรามีกำไรเท่าไร  การทำบัญชีเพื่อตรวจสอบรายรับรายจ่าย จะเป็นข้อมูลบอกเราว่า จริงๆแล้วธุรกิจที่เราทำอยู่นี้ มีกำไร หรือ ขาดทุนอยู่  ไม่ใช่เห็นแค่ Cash flow เข้ามาทุกวันก็พอแล้ว และเมื่อเราเริ่มเก็บข้อมูลเรื่องเงินเข้าเงินออกในธุรกิจเราอย่างเป็นระบบมากขึ้น ก็ควรนำข้อมูลมาทำบัญชีให้ถูกหลักกันครับ

ความหมายของ การบัญชี คือ  กระบวนการหรือขั้นตอนทางการเงินที่สามารถระบุค่าทางการเงินได้ หลังจากนั้นก็นำมาจัดหมวดหมู่ตามหลักการบัญชี  ขยายความอีกทีว่า การทำบัญชีคือการจดบันทึกข้อมูลรายรับรายจ่าย  พยายามตีมูลค่าในทุกอย่างในกิจการให้ออกมาเป็นตัวเลขให้ได้  แล้วเอามาจัดหมวดหมู่ทำเป็นงบการเงิน คนอ่านแล้วต้องเข้าใจ

มีคำถามคือ เราทำงบการเงินไปทำไม ใครเอางบการเงินไปดูบ้าง ?


หน้าที่ของกิจการ คือ เมื่อดำเนินงานทางธุรกิจต้องจัดทำงบการเงิน เพื่อส่งให้กระทรวงพาณิชย์เก็บข้อมูลตามกฏหมาย และส่งให้ทางกรมสรรพากรเพื่อในการทำเรื่องการเก็บภาษี

ในเรื่องของภาษี อาจารย์มีคำแนะนำว่า  การเก็บหลักฐานให้ครบและทำทุกอย่างให้ถูกต้องนั้นดีที่สุด  ในตอนที่ธุรกิจเรายังไม่โต สรรพกรเขายังปล่อยเราอยู่  แต่ถ้าธุรกิจเราใหญ่ขึ้นแล้วเราทำไม่ถูกต้อง  มีโอกาสโดนเก็บภาษีย้อนหลังแน่ๆ

ในฐานะของผู้เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ  ในเรื่องการการบัญชีและเรื่องงบการเงิน  เราควรรู้ไว้บ้างก็ดี  แท้จริงแล้ว หน้าที่เราไม่ต้องถึงกับต้องไปแย่งงานฝ่ายบัญชีทำรายละเอียดทำงบการเงินขึ้นมาเอง  เพียงแต่เราควรจะอ่านพบการเงินให้เป็น  อ่านให้พอให้เข้าใจได้ว่า  เกิดอะไรขึ้นกับเงินของกิจการเราบ้างนี่คือจุดประสงค์ของการเรียนในวันนี้ครับ

------------ (1) ------------

มาดูความหมายของงบการเงินในแบบของพ่อตานะครับ


ลูกสาวของบ้านหนึ่ง เธอคนนี้สวยมาก  มีหนุุ่มๆเข้ามาจีบมากมาย  "ว่าที่พ่อตา"  จึงได้ถามลูกสาวเกี่ยวกับบรรดาหนุ่มๆที่เข้ามาจีบว่า
  • เจ้าหนุ่มคนนั้นรวยไหม ? ( ฐานะทางการเงิน)
  • อยู่กันแล้วจะเจริญก้าวหน้าไปด้วยกันใหม ? (ผลการดำเนินงาน)
  • และสุดท้ายดู ทางบ้านมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นยังไง (กระแสเงินสด)

การคัดเลือกลูกเขยของพ่อตา ก็ คล้ายๆ กับการดูงบการเงินของบริษัท แต่ก็อย่างว่านะครับ ….  ในเมื่อคนเราแต่งตัวทำให้ดูดีกันได้  แล้ว งบการเงิน มันก็ทำให้ดูดีได้เหมือนกัน  ดังนั้นเราต้องดูกันให้ดีๆ  ว่าแต่ละคนมีอะไรแอบซ่อนอยู่ลึกๆ รึเปล่า

เรามาดูเจาะลึกเพิ่มในแต่ละคำถาม

ฐานะทางการเงิน  เป็นข้อมูลที่บอกว่าเจ้าหนุ่มคนนี้ "รวยไหม"  ก็ดูง่ายๆว่าเขามีทรัพย์สินเท่าไร แค่นี้ไม่พอ ต้องดูหนี้สินที่เขามีอยู่ด้วย

นาย A มีทรัพย์สินอยู่ 100 ล้านบาท เราก็คิดว่า โห…รวยมาก ถ้าเราดูกันแค่นี้
แต่จริงๆแล้ว นาย A มีหนี้สินอยู่ 100 ล้านบาทอีกด้วย คนนี้เลยมีปัญหาแน่ๆ

ผลการดำเนินงาน  เป็นตัวที่บอกว่าเจ้าหนุ่มคนนี้  "มีแนวโน้มจะเจรฺิญก้าวหน้าไหม"  วิธีดู  ก็ดูจากผลงานในปีก่อนๆของเค้าว่า ทรัพย์สินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง

นาย B ปีนี้ มีทรัทพ์สินอยู่ 25 ล้าน ซึ่งปีก่อนเขามีทรัทพ์สินอยู่ 70 ล้าน และเมื่อสองปีก่อนเขามีทรัทพ์สินอยู่ 100 ล้าน

นาย C ปีนี้ มีทรัทพ์สินอยู่ 22 ล้าน ซึ่งปีก่อนเขามีทรัทพ์สินอยู่ 9 ล้าน และ สองปีก่อนทรัทพ์สินอยู่ 2 ล้าน

พ่อตาจะเห็นแววของหนุ่มคนไหนหนอ ?

กระแสเงินสด เป็นตัวที่บอกว่าเจ้าหนุ่มคนนี้ มีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร  ถ้ามีเหตุต้องการใช้เงิน  จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีให้เป็นเงินได้เร็วแค่ไหน

นาย C มีทรัทพ์สิน 18 ล้าน แบ่งเป็นที่แถวดอยม่อนจอง 800 ไร่ มูลค่า 16 ล้านบาท และ เป็นเงินสด 2 ล้านบาท

นาย D มีทรัทพ์สิน 18 ล้าน แบ่งเป็นที่แถวเกาะเสม็ด 5 ไร่ มูลค่า 6 ล้านบาท และ เป็นเงินสด 12 ล้านบาท

การพิจารณาให้ดี ต้องลองเอาข้อมูลหลายๆตัวมาพิจารณาประกอบกันนะครับ 

------------ (2) ------------

ตอนนี้เราจะลองเอาเรื่องที่เล่ามาจับคู่กับประเภทของงบการเงินกันครับ  เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องงบการเงินให้มากขึ้น

ในงบการเงิน  ที่เราใช้งานกันบ่อยๆ จะมีงบ 3 ประเภท คือ
งบดุล ใช้บอก ฐานะทางการเงิน
งบกำไรขาดทุน ใช้บอก  ผลการดำเนินงาน
งบกระแสเงินสด  ใช้บอก  กระแสเงินสด 

และมีอีกข้อมูลที่สำคัญ เอาไว้ให้นักตรวจสอบบัญชีใช้ตรวจสอบเงื่อนงำ  มันคือ หมายเหตุประกอบการเงิน  ครับ เพราะบางทีงบการเงินของบางกิจการดีมาก  แต่วิธีการคิดการทำงบการเงินอาจจะมีการพลิกแพลงอะไรบางอย่าง  เราจึงควรมาอ่านหมายเหตุฯตรงนี้เพิ่มด้วย

มีคนสงสัยว่า ทำไมงบการเงิน มีหลายตัวจัง  คำตอบคือ...ที่งบการเงินมีหลายตัวแบบนี้ก็เพื่อ บอกฐานะทางการเงินของบริษัทให้ใกล้เคียงความจริงให้มากที่สุด   เราจึงต้องควรดูงบการเงินหลายๆตัว ประกอบกัน เพื่อที่จะเห็นแง่มุมชัดตื้นลึกด้านการเงินของกิจการนั้นๆได้ชัดเจนขึ้น

มาดูรายละเอียดงบแต่ละตัวแบบย่อๆ กันครับ

1) งบดุล : แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ. จุดเวลาหนึ่ง  เราเอามาเขียนเป็นสมการบัญชีได้เป็น
   
สินทรัพย์ (Asset) =  หนี้สิน (Liabilities) + ทุน (Equity)

สินทรัพย์ : แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดูจากระยะเวลาที่ถือ กำหนดที่ 1 ปี
  • สินทรัพย์หมุนเวียน : เป็นพวกเงินสดหรือสินทรัพย์อะไรก็ได้ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายๆ ภายใน 1 ปี เช่น เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า ฯ
  • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : พวกสินทรัพย์ที่ใช้เวลาถือมากกว่า 1 ปี เช่นเงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาว และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เช่น ลิขสิทธิ สัมปทาน ฯ)
ในส่วนของที่ดิน อาคารและเครื่องมือที่ตั้งใจไว้ว่าไม่ได้มีไว้ขาย ก็เป็นสินทรัพท์ไม่หมุนเวียน

หนี้สิน : แบ่งตามเกณเดียวกันกับทรัพท์สิน ดูเวลาที่ต้องชำระ ที่ 1 ปี
  • หนี้สินหมุนเวียน : หนี้ที่ต้องชำระภายใน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า (เอาของเค้ามาแล้วยังไม่จ่ายตัง) รายได้รับล่วงหน้า(เอาตังเค้ามาแล้วยังไม่เอาของไปให้เค้า) เงินกู้จากธนาคารที่ต้องคืนในปีนี้ ฯ
  • หนี้สินไม่หมุนเวียน :  หนี้ที่ยังไม่ต้องชำระใน 1 ปีนี้  ค่อยๆทยอยจ่าย ชิวๆ เช่นหุ้นกู้ เงินกู้ยืมระยะยาว
ส่วนของเจ้าของ : มันก็คือส่วนต่างระหว่าง ทรัพย์สินกับหนี้สิน
ในการกำหนดสัดส่วนของ สินทรัพย์หมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน และ  หนี้สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน ของธุรกิจ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า  " น้ำไกลไม่อาจดับไฟใกล้ " นั่นคือให้ระวังในการกำหนดสัดส่วนของหนี้สินหมุนเวียนอย่าให้มากเกินไป จนหาเงินมาจ่ายไม่ทัน ไม่งั้นธุรกิจอาจล้มได้


หมายเหตุจากรูป เป็นการเทียบอัตราส่วนหนี้สินหมุนเวียน/ไม่หมุนเวียน ของกิจการ A และ B  ซึ่งการกำหนดสัดส่วนของหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ B ควรจะดู ทรัพย์สินหมุนเวียนของกิจการ B ว่าจะเปลี่ยนมาเป็นเงินเพื่อจ่ายหนี้ระยะสั้นได้ทันหรือไม่

<<ตัวอย่างงบดุล>>



------------ (3) ------------
2) งบกำไรขาดทุน :  ขออธิบายด้วยรูป ดังนี้ครับ


จะเห็นได้ว่า กว่าที่รายได้จะมาถึงปลายทางที่เป็นกำไรสุทธิ  จะโดนหักค่าใช้จ่ายเป็นหลายๆขั้น  เพื่อที่จะได้แยกให้เห็นทีละขั้นว่าธุรกิจนี้ ผลิตเก่ง หรือ ขายเก่ง

การคิดกำไรออกเป็นขั้นๆ (กำไรขั้นต้น , กำไรจากการดำเนินงาน , กำไรก่อนภาษี )  ทำให้เราเห็นถึงความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น
  • ดูว่าบริษัทใหนเก่งด้านการผลิต  ให้ดูที่ ต้นทุนขาย  ต้องมีค่าน้อยๆ (ต้นทุนในการผลิตต่ำ)
  • ดูว่าบริษัทใหนเก่งด้านการเงิน  ให้ดูที่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดอกเบี้ย ต้องมีค่าน้อยๆ 
ขออ้างอิงรุปภาพสี่เหลี่ยมงบดุล จริงๆมีความหมายซ่อนอยู่  ในด้านซ้าย จะเป็นเรื่องของการ Operation ของธุรกิจนั้นๆ เช่นวัดเรื่องการจัดการเรื่องการเก็บสินค้า Stock สินค้า ต้องเก็บต้อง Stock เยอะไหม สินค้านี่ผลิตเอง หรือจ้างคนอื่นทำ ฯ  และในส่วนขวาของรูป จะเป็นเรื่องของ Finance ของธุรกิจ เช่นการเลือกที่จะเป็นหนี้มากน้อยขนาดใหน

งบกำไรขาดทุน สามารถดูแนวโน้มอนาคตของธุรกิจได้ ลองเข้าไปดูส่วนของกำไรสุทธิ ที่สะสมเพิ่มตามแต่ละปีในงบการเงิน  ก็พอที่จะเห็นแนวโน้มของธุรกิจ  ตามรูปครับ

<<ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน>>




3) งบกระเเสเงินสด : เป็นต้วบอกว่าเงินสดในธุรกิจ ได้มาจากแหล่งใดบ้าง  อาทิเช่น
  • เงินที่ได้จากการดำเนินการ เป็น เงินที่ได้จากการทำกิจการ
  • เงินที่ได้จากการจัดหาเงิน  เช่น การกู้ยืมหรือการก่อหนี้ของกิจการ
  • เงินจากการลงทุน เช่น เงินที่ได้จากการลงทุนในกิจการใหม่ๆ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหลักก็ได้
<<ตัวอย่างงบกระแสเงินสด>>



งบการเงินแต่ละแบบ มีหน้าที่สะท้อนสถานะทางการเงินของธุรกิจในแต่ละด้าน  เราต้องดูหลายๆด้าน แล้วเอามาประกอบกันให้เห็นภาพใกล้เคียงภาพจริงที่สุด  ฝากสุดท้าย  การทำงบการเงิน รายละเอียดลึกๆเป็นหน้าที่ของนักบัญชี  แต่ผู้ประกอบการก็ควรที่จะอ่านงบการเงินให้เข้าใจครับ

------------ (end) ------------


Note :
  • HIGH RISK , HIGH EXPECTED : เราจ่ายต้นทุน เพื่อให้ได้รายได้ขึ้นมา
  • ถ้าเรารู้ว่าของเราขายได้แน่ๆ ให้เลือกที่จะเป็นหนี้ กู้เงินมาลงทุน ( ใช้ DuPont Analysis ช่วยคิด)
  • บัญชีทำให้เราเห็นความจริงบางอย่างของธุรกิจที่เรากำลังจะทำ 
  • ROA เป็นเรื่องของการวัดประสิทธิภาพในเรื่อง Operation  (Net income/asset)
  • ROE เป็นเรื่องของการวัดประสิทธิภาพในเรื่อง finance  (Net income / equity)

1 ความคิดเห็น: