เพื่อนที่ได้ยินผมอ่านคำนี้ มันขำ มันบอกว่าคำนี้ ออกเสียงเป็น “ ออง-เตอ-พะ-เนอ “
นั่นเป็นจุดแรกที่ผมรู้สึกสะดุดใจกับคำๆนี้ (มันออกเสียงแปลกดี) และในเวลาต่อมาก็ได้รู้จักกับคำๆนี้มากขึ้นในคอร์สเรียน NEC โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่จัดขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
blog นี้ จะเล่าเรื่องราวของผู้ประกอบการผ่านมุมมองของผมเอง ซึ่งได้จากการฟัง การเรียน เรื่องที่ถูกเล่าจากเพื่อนๆภายในโครงการ ที่ช่วยสอนช่วยเติมเต็มคนที่ไม่มีประสบการในการทำธุรกิจอย่างผมได้มีมุมมองใหม่ๆ ได้ใช้สายตาดวงเดียวกันกับเหล่าผู้ประกอบการมองโลก
ต่อจากนี้คือเรื่องราวของ entrepreneur ครับ
---------------------- 1 ---------------------
เพื่อนใหม่ - วันแรกที่รู้จักกัน
เพื่อนใหม่ - วันแรกที่รู้จักกัน
วันแรกที่เข้าไปเรียน NEC โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ มีเพื่อนร่วมรุ่นอยู่ประมาณเกือบ 60 คน มาจากต่างสายอาชีพ บางคนก็เป็นทายาทที่กำลังพัฒนาธุรกิจที่รับมาจากที่บ้านมาทำต่อให้ดีขึ้น บางคนก็เป็นคนที่กำลังเริ่มสร้างธุรกิจใหม่ของตัวเอง ทุกคนมาจากต่างสายสาขาอาชีพ นักการตลาด HR นักบัญชี โปรแกรมเมอร์ ฯลฯ มากมาย มารวมตัวกัน
เรียกได้ว่าหลากหลายสายพันธุ์อาชีพ ต่างคนต่างความคิด ต่างประสบการณ์ มาเจอกัน
ตามปกติครับ วันแรกทุกคนไม่ค่อยคุยกันหรอก ก็นั่งกันตัวแข็งๆ เพราะยังไม่รู้จีกกันมากสักเท่าไร
ในวันแรกนี่ก็มีการแนะนำตัวกันในเพื่อนร่วมรุ่น มีการจับคู่บัดดี้เพื่อจะเป็นที่ปรึกษาเขียนแผนธุรกิจ และมีรุ่นพี่รุ่นที่จบไปเมื่อปีก่อนมาเล่าถึงความสำเร็จหลังจากเข้าร่วมโครงการนี้เมื่อปีก่อน
พี่รุ่นก่อนแชร์เรื่องมุมมองของการทำธุรกิจ หลายๆคนได้พูดถึงเรื่อง connection นั้นเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่จะพลักดันทำให้ธุรกิจก้าวเดินไปได้ เนื่องจากคนหลายหลายสาขา เมื่อนำความรู้มารวมกัน การแก้ปัญหาที่ติดขัดเมื่อใช้ประสบการณ์ของแต่ละคนเข้ามาช่วย การแก้ปัญหานั้นจะทำได้เร็วขึ้น บางคำถามในการประกอบธุรกิจ เวลาหาในเน็ตเป็นวันเป็นเดือน แต่ถ้ามี connection ถามกัน เรื่องนี้จะจบในไม่กี่นาทีเช่นการจดทะเบียน Logo ของผลิตภันท์ของเรา เราอาจใช้เวลานั่นดูนั่งอ่านข้อมูลอยู่นาน แต่ถ้ามีเพื่อที่เคยทำมาก่อน มันจะกลายเป็นเรื่องง่ายไปเลย
รุ่นพี่หลายคนมาแชรฺเรื่องธุรกิจที่ตัวเองทำให้ฟัง เคสหลายเคสน่าสนใจ เช่นเรื่องงานการคำนวนด้านบัญชี จะช่วยทำให้เรารู้รอยรั่วของธุรกิจ เหมือนที่พี่เค้าเจอในการทำโปรเจ็คแรกที่เค้านำเสนอกับทางโครงการ NEC แต่เมื่อพี่เค้าเรียนรู้เครื่องมือเกี่ยวกับบัญชีแล้ว ทำให้อะไรหลายๆอย่างมันชัดเจนขึ้น เค้าตัดสินใจกลับตัวทันไม่ไปต่อในธุรกิจที่เขียนแผน แล้วไปเริ่มต้นธุรกิจด้านงานอีเวนท์ จนเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปี เค้าประสบความสำเร็จในธุรกิจที่เริ่มต้นขึ้น
มีประเด็นเน้นว่า บางทีการต่อยอดจากสิ่งที่รู้...อาจดีกว่าเราไปเริ่มต้นทำธุรกิจที่เรายังไม่เคยทำ
----------------------- 2 ------------------------
Party after class- รู้จักเพื่อนใหม่มากขึ้น ?
Party after class- รู้จักเพื่อนใหม่มากขึ้น ?
หลังจากที่เรียนจบในวันแรก ทางโครงการ NEC ได้มอบหมายให้ เพื่อนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 ( ผมเป็นรุ่นที่ 2 เรียนช้ากว่าประมาณ 1 เดือน ) จัดงานเลี้ยงเพื่อรวมศิษย์เก่าศิษย์ใหม่มารวมกัน ให้ได้รู้จักกันมากขึ้น ในงานมีการเล่นเกม มีการแนะนำตัวอาจารย์ มีการมอบใบประกาศต่างๆ ของรุ่นปีก่อนที่จบไป
ช่วงเวลานี้ก็ได้คุยกับเพื่อนหลายคน ๆ แล้วไปเจอธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจอันหนึ่ง
ในปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่มีผู้สูงอายุในบ้าน ซึ่งบางท่านก็ดูแลตัวเองไม่ได้ จึงต้องมีคนคอยดูแลผู้สูงอายุในบ้าน จะออกไปทำงานของตัวเองก็ไม่ได้เพราะต้องดูแลท่าน
ที่จะเล่าคือ ธุรกิจบ้านพักคนชรา
เราเคยได้ยินเรื่องธุรกิจรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งธุรกิจแบบนี้เราเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่ ธุรกิจบ้านพักรับเลี้ยงคนชรา นี่ผมไม่ค่อยได้สัมผัสและไม่ค่อยได้ยินว่ามีแบบนี้ด้วย ในความคิดแรกของผม ดูเป็นธุรกิจที่คนที่ใช้บริการธุรกิจค่อนข้างใจร้าย เพราะธุรกิจนี้อาจทำให้ความรู้สึกของผู้สูงอายุในบ้านรู้สึกเหมือน “โดนทิ้ง” แบบว่า ลูกหลานไม่อยากดูแลเลยให้คนอื่นมาดูแลแทน
แต่ว่าธุรกิจนี้มีมุมบางอย่าง….
เพื่อนเจ้าของธุรกิจคนนี้เค้าเริ่มธุรกิจนี้จากปัญหาที่บ้าน โดยเริ่มจากพยายามหาคนมาดูแลคนชราที่บ้านที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ซึ่งหาคนไปๆมาๆก็ไม่ถูกใจ เจ้าของบ้านเลยทำซะเองเลย นั่นคือเริ่มรับคนชราเข้ามาดูแลด้วย เนื่องด้วยทางบ้านของเจ้าของธุรกิจนี้มีอาชีพเป็นหมอ - พยาบาล จึงสามารถเริ่มธุรกิจนี้ได้ไม่มีปัญหา ต่อมาก็เริ่มมีลูกค้าเพิ่มจำนวนเยอะขึ้นๆเรื่อย จึงต้องขยายบ้านเพื่อทำเป็นบ้านพักคนชราขึ้นมาแทน โดยที่นี่มีสัดส่วนคนดูแล 1 คน ต่อ คนชรา 2 คน ซึ่งส่วนมากลูกค้าจะเป็นคนชราที่ดูแลตัวเองไม่ได้ หรือบางคนก็เป็นอัลไซเมอร์
เพื่อนคนนี้เล่าว่า เมื่อเทียบกับบ้านพักคนชราที่ของรัฐ(ที่เรารู้จักกันดีอยู่แถวๆกรุงเทพฯ) สภาพแวดล้อมไม่ค่อยดี อาจจะใช้ คนดูแล 1 คนต่อคนชรา 7 คน การมาแข่งขันของเอกชน ที่ลงมาทำด้านนี้จะดูแลผู้สูงอายุดีกว่า แต่แน่นอนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลยิ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าของรัฐ
มีคำถามจากเพื่อนในกลุ่มที่นั่งคุยด้วยกันว่า แล้วบรรดาผู้สุงอายุที่เขายังรับรู้ดีอยู่ แต่ลูกหลานให้มาอยู่ที่นี่ เขาไม่รู้สึกแย่บ้างเหรอ ?
เพื่อนคนนี้บอกว่า ตอนแรกก็จะมีปัญหาบ้างในการปรับตัว แต่พอผู้สูงอายุเขาอยู่ไป เขาได้เจอเพื่อน เค้ามีเพื่อนคุย พอเขามีกลุ่มเพื่อนก็อยากจะมาอยู่ที่นี่แบบเต็มใจ เพราะถ้าอยู่ที่บ้านอาจไม่มีใครมาคุยด้วย ทำให้โมเดลธุรกิจแบบนี้กลายเป็นแบบ win - win ไป
จุดที่สำคัญของธุรกิจนี้คือเรื่องคนที่มาดูแลผู้สูงอายุ คือ คนดูแลต้องใจเย็น ไม่ทำเรื่องใจร้ายกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องควบคุมให้ได้
จากปัญหาที่ลูกหลานไม่มีเวลาทำงานเนื่องจากต้องคอยดูแลผู้สูงอายุ ก็มีธุรกิจที่มาช่วยดูแลผู้สูงอายุ
ส่วนธุรกิจผู้ดูแลฯ ก็ได้ค่าจ้างจากการดูแลผู้สูงอายุ
ส่วนตัวผู้สูงอายุเอง ก็ได้มีคนดูแลอย่างดี และมีเพื่อนคุย
ผู้ประกอบการ เป็นผู้มองเห็นปัญหา ต่อจากนั้นหาวิธีแก้ปัญหานั้น ส่วนเรื่องเงินก็มักตามมาเอง
----------------------- 3 ------------------------
ขอย้อนกลับไปช่วงเรียนก่อนที่จะจบวันแรก อาจารย์ได้สรุปท้ายคาบเกี่ยวกับเรื่องทำธุรกิจว่า...
นี่น่าจะเป็นหัวใจของ entrepreneur
ไม่ว่าเราจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไร มันเริ่มจากปัญหาที่เจอ แล้วแก้ปัญหาบวกการต่อยอดให้เป็นรูปเป็นร่าง ต่อจากนั้นมันต้องทำเงินได้
พวกวิชาในการทำธุรกิจที่เราเรียน ไม่ว่าจะเป็น วิชาบัญชี โปรแกรมที่ช่วยในการทำธุรกิจ เป็นแค่เครื่องมือ แต่จริงๆแล้ว เราเรียนพวกนี้เพื่อ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับคน
“การทำธุรกิจคือการสร้างความพึงพอใจ”
นี่น่าจะเป็นหัวใจของ entrepreneur
----------------------- -----------------------
0 Comment:
แสดงความคิดเห็น