05 ตุลาคม 2556

NEC-CU #8 การขอสินเชื่อธนาคาร

09:12 Posted by attaphon singhakiree 1 comment
เรื่องของ เงิน เป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆของการเริ่มต้นทำธุรกิจ เราอาจจะเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยเงินของตัวเองก่อน แต่ในช่วงแรกผลตอบแทนอาจกลับมาหาเราน้อย ซึ่งพอทำธุรกิจไปนานวันเข้า "สายป่านด้านการเงิน" ที่จ่ายให้กับธุรกิจเราอาจจะไม่เพียงพอที่จะดำเนินการต่อ... ธุรกิจของเราก็อาจปิดตัวล้มลงได้ ดังนั้น เราจึงควรหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมในการลงทุนทำธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือวิธีการเงินกู้จากธนาคาร

ในห้องเรียนผู้ประกอบการใหม่ เป็นเนื้อหาเรื่องเทคนิคการขอสินเชื่อธนาคาร ซึ่งอาจารย์ที่มาบรรยายเรื่องการกู้เงินนี้เคยทำงานทางด้านส่วนของการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ จึงมาเปิดเผยเทคนิคการกู้เงินและบอกเล่าถึงมุมมองทางฝั่งนายธนาคารให้เราได้รู้บ้างว่า เราต้องเตรียมตัวอย่างไรจึงจะทำเรื่องกู้เงินผ่าน

clip_image001

เตรียมแผนธุรกิจให้ดี

เมื่อเราจะไปคุยขอกู้เงินจากธนาคาร ควรจะเตรียมเรื่องแผนธุรกิจให้ดี เนื่องจากแผนธุรกิจเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะบอกเล่าเกี่ยวกับธุรกิจเรา ว่าธุรกิจเราทำอะไร ทำกำไรได้อย่างไร หลักฐานทางการเงินเป็นอย่างไร มีโอกาสเติบโตแค่ไหน มีความเสี่ยงอะไรบ้าง เราควรทำแผนธุรกิจให้ชัดเจน  เพื่อที่คำถามเกี่ยวกับตัวธุรกิจจากธนาคารจะน้อยลง

สายตาของธนาคาร

ในการขอกู้เงินจากธนาคาร เทคนิคอย่างหนึ่งคือให้เราลองสมมุติตัวสวมแว่นเป็นนายธนาคาร   แล้วมองในมุมของคนที่จะปล่อยเงินกู้ให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสักคน  เราอยากจะรู้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับธุรกิจนั้นและต้องรู้อะไรเกี่ยวกับคนที่มาขอกู้บ้าง  เทคนิคนี้พอช่วยในการตอบคำถามระหว่างการนำเสนอธุรกิจของเรา การเตรียมคำตอบที่ดีที่มีผลต่อการกู้เงินของเราได้

ในมุมมองของธนาคาร ต้องเข้าใจว่าธนาคารจะมองเห็นตัวธุรกิจของเราแค่ผิวเผิน  เหมือนมองเห็นภูเขาน้ำแข็งเฉพาะส่วนที่พ้นโผล่ผิวน้ำ เนื่องจากธนาคารไม่ได้รู้จักธุรกิจทุกประเภทและไม่ได้ลงไปดูธุรกิจเราอย่างจริงจัง ในการอธิบายธุรกิจของเราย่อมมีบางอย่างที่ธนาคารไม่เข้าใจ  นายธนาคารเลยพยายามประเมินตามข้อมูลที่มี และพยายามขุดคุ้ยเพื่อหาข้อมูลที่ซ่อนอยู่ไต้ก้อนน้ำเเข็งก้อนนี้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะปล่อยกู้ให้เราหรือไม่ ถ้าข้อมูลที่มีไม่เพียงพอต่อการประเมินว่าธุรกิจจะไปรอด ธนาคารก็ไม่ปล่อยกู้

ธนาคารจะมอง "ผู้ประกอบการ" เป็นคนมาขายฝันในสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ นายธนาคารจะเป็นค้นความจริงว่าสิ่งที่ทำมันจะไปรอดใหม ถ้ารอดก็ให้กู้ ดังนั้นหน้าที่ ผู้ประกอบการจะต้องหาหลักฐานข้อมูลมาแสดงให้นายธนาคารมาประเมินให้ได้ว่า ธุรกิจที่จะขอเงินกู้นั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี ตัวธุรกิจมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ

ตัวอย่างประกอบ เช่น  กรณีผู้ประกอบการท่านหนึ่ง อยากจะขายเบียร์ ชื่อ เบียร์ภูเก็ตAAA ซึ่งเจ้าของธุรกิจคิดจะเปิดเบียร์แบรนด์ใหม่ ขายเฉพาะฝรั่งและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวละแวกแถวภูเก็ต เจ้าของธุรกิจเค้าคำนวนมาแล้วว่า กำไรขวดละ 10 บาท โดยคิดว่า นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวภูเก็ตปีๆหนึ่งมีกี่แสนกี่ล้านคน แค่กินคนละ 10 ขวดก็กำไรมหาศาล ธุรกิจนี้สดใสแน่ๆ ในมุมมองของผู้ประกอบการที่จะมาขอกู้เงิน

แต่ในมุมมองของนักธนาคาร เค้าจะเริ่มตบไหล่ปลุกให้ตื่น … ฝรั่งที่มาเที่ยวภูเก็ต เขาต้องมากินเบียร์ภูเก็ตAAA ของคุณอย่างเดียวเหรอ แล้วการกระจายสินค้าคุณทำได้ดีแค่ไหน ทำมาขายแต่ส่งได้ไม่ครอบคลุม แล้วจะได้ยอดขายตามที่ตั้งเป้ารึเปล่า สุดท้ายโครงการนี้ก็ไม่ผ่านการกู้เงิน

แนวคิดของธนาคารที่ปล่อยกู้ให้เรา
  • ธนาคารไม่ใช่โรงรับจำนำ : ถึงแม้ว่าเจ้าของธุรกิจอาจมีที่ดินมาเป็นหลักประกันเยอะ ก็ใช่ว่าจะทำเรื่องเงินกู้ผ่านได้ทุกครั้ง
  • ยึดตามระเบียบ : ธนาคารไม่ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจสีเทา เช่น ไม่ปล้อยกู้ไปทำร้านเหล้า ไม่ปล่อยกู้ให้ไปทำบ่อนการพนัน  
  • วิเคราะห์ตามตรรกะ :  ธนาคารจะพิจารณาความเป็นไปได้ของตัวธุรกิจ จะประเมินตัวธุรกิจว่าทำได้จริงอย่างที่พูดหรือไม่
  • การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวลดลง : เมื่อก่อนการปล่อยกู้คนตัดสินใจจะมีแค่คนๆเดียว ใครที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายธนาคาร มีสิทธิที่จะกู้ผ่่านได้ง่ายๆ แต่ตอนนี้งานสินเชื่อได้แยก process ออกเป็นสามส่วน เพื่อป้องกันการรวมอำนาจปล่อยกู้ไว้ที่คนๆเดียว ดังนี้
clip_image002

คนที่ 1 : ผู้จัดการด้านธุรกิจสัมพันธ์ เป็นคนวิเคราะห์สินเชื่อ คนนี้หน้าที่เค้าเน้นใช้ปาก จะถาม ๆๆๆ อย่างเดียวเลย เพื่อเอาละเอียดจากตัวธุรกิจเรา แล้วทำรายงานส่งเรื่องให้คนพิจารณาต่อไป
คนที่ 2 : ผู้จัดการด้านอนุมัติ คนนี้จะไม่เคยเห็นคุณเลย แต่จะดูรายละเอียด report ข้อมูลจากการสอบถาม ที่ผ่านมาจากคนแรก แล้วมาตัดสินใจว่าจะอนุมัติหรือไม่ ก็เลยเป็นลิงปิดตา ที่ไม่เคยเห็นคุณ
คนที่ 3 : เจ้าหน้าที่ประเมินราคาหลักประกัน คนนี้ก็ไม่เคยคุยกับคุณเลย แต่จะประเมินหลักประกันในการขอกู้เงินในธุรกิจ เป็นอีกหนึ่งคนที่จะดูว่าถ้าให้เงินกู้กับคุณแล้วธนาคารจะเสี่ยงไหม

การกู้เงินเพื่อไปสร้างธุรกิจของเรา จะกู้ได้รึเปล่า จะผ่านหรือไม่ ต้องฝ่าด่านอรหันต์ของ 3 คนนี้ครับ

หลักเกณท์ในการขอกู้เงินจากธนาคาร

สำหรับผู้ประกอบการที่จะขอกู้เงิน จะต้องเข้าหลักเกณท์ตามข้อมูลต่อไปนี้
  • ไม่เป็น NPL
  • ไม่เป็น Blacklist
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • แสดงงบการเงินที่ส่งสรรพกร
  • แสดงหลักฐานทางการเงิน : stagement ต้องมี movement ตลอด
  • แสดงหลักฐานทางการค้า : การทำสัญาต่างๆ ต้องเก็บหลักฐานไว้
  • แสดงข้อมูล สัดส่วนเงินลงทุนต่อเงินกู้ ที่จะขอกู้
  • แสดงข้อมูลเงินทุนหมุนเวียน
  • มีความสามารถในการชำระหนี้
  • มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
บางครั้ง นายธนาคารจะดูส่วนประกอบอื่นร่วมด้วย เช่นกรณีขอกู้เงินทำรีสอร์ทที่ภูเก็ต ซึ่งเป็นเคสที่ผู้ประกอบการยังไม่มีประสบการณ์การทำธุรกิจนี้ แต่เคสนี้อาจไม่ต้องมองเรื่องประสบการณ์เคยธุรกิจด้านนี้มาก่อนรึเปล่า อาจจะให้กู้เนื่องจากดูจากตัวแปรอื่น เช่น ทำเลที่ตั้งเป็นอย่างไร ถ้าทำเลดี คนท่องเที่ยวเยอะ ธนาคารก็ปล้อยเงินกู้ให้ได้

พูดถึงเรื่องประสบการณ์ในการทำธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งที่ธนาคารใช้ในการตัดสินใจ สมมุติในเคสที่เราเคยทำงานในโรงงาน A ที่ผลิตอุปกรณ์ประกอบชิ้นส่วนให้บริษัทรถยนต์ Honda และมีประสบการณ์การทำงานเป็น 10 - 20 ปี มี connection กับลูกค้าอย่างเหนี่ยวแน่น แล้ววันหนึ่งเราคิดจะออกจากโรงงาน A มาตั้งบริษัทตัวเองทำของส่งเองบ้าง นายธนาคารจะดูเรื่องของประสบการณ์ประกอบการตัดใจว่าจะให้กู้ด้วย แบบนี้น่าจะกู้ผ่านได้ไม่ยาก  แต่หากว่าธนาคารดูประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้ขอกู้แล้วคิดว่าธุรกิจที่กำลังจะทำมันข้ามสายมากไป เช่น เราทำด้านการเงินในบริษัท Honda  แต่ออกมาผลิตอุปกรณ์ให้ Honda  อย่างนี้ธนาคารอาจไม่ให้กู้เงิน

สุดท้ายเป็นของแถม ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการที่อยากจะกู้เงินจากธนาคารครับ

clip_image003

ผู้ประกอบการต้องวางแผนอะไรบ้าง
  • เลือกธนาคารที่ถูกต้อง
    • อย่าลืมว่าเราเลือกธนาคารได้ ให้สัมภาทณ์ธนาคารก่อน ดูว่าธนาคารจะโตไปกับธุรกิจเราได้รึเปล่า
    • ถามหลักเกณท์การกู้จากธนาคารให้ชัดเจน
    • ต้องมีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมเท่าไร คุยกับธนาคารให้ชัดเจนว่าต้องเสียค่าอะไรบ้าง ถามมาให้ครบ เช่น Front-end fee , ค่าอากร , ค่าจดอากร ฯ บางอย่างยังไม่ทันจะกู้ก็ต้องเสียเงินให้ธนาคารแล้ว
    • อธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับธุรกิจให้ชัดเจน มีตัวอย่างสินค้าไปให้ธนาคารดูด้วยจะดีมาก
  • การเปิดเผยข้อมูล
    • บางครั้งการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญก็จำเป็นต่อการตัดสินใจให้กู้ของธนาคาร เช่นบอกที่มาของแหล่งผลิต ไม่ต้องกังวลว่าธนาคารจะผลิตสินค้ามาแข่งกับเรา
  • จัดเตรียมเอกสาร
    • คุยกับธนาคารให้บอกเราว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง  แล้วเราก็เตรียมตัวไปคุยกับธนาคารได้เร็วขึ้น เมื่อจัดการเอกสารได้เร็วธนาคารก็อนุมัติได้เร็ว
  • ต้องเข้าใจหลัก / ประเภทของสินเชื่อที่จะขอกู้
  • สามารถแสดงที่มาของรายได้และความสามารถในการชำระหนี้
  • สามารถแสดงแหล่งที่มาของทุนของเจ้าของธุรกิจ
เพิ่มเติมเรื่องการทำบัญชี ควรแยกบัญชีเงินทำธุรกิจแยกออกจากบัญชีเงินส่วนตัว  อย่าให้ข้อมูลทางการเงินปนรวมกันในบัญชีเดียว เพื่อที่จะได้ยื่นเป็นหลักฐานในการกู้เงินกับธนาคารแบบไม่มีปัญหาครับ

--------------- END ---------------

1 ความคิดเห็น: